วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปฎฺทิน



Big Book


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่15

15 กุมภาพันธ์ 2554


วันนี้เป็นสุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานทุกอย่างให้ครบ เเละได้ตรวจสอบงานของนักศึกษาที่ส่งไปเเล้ว ว่ามีหรือไม่ หรือขาดงานอะไรบ้าง รวมทั้งได้นัดสอบปลายภาคนอกตาราง ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 09.00น. ที่คณะศึกษาศาสตร์

บรรยากาศ : ค่อนข้างวุ่นวายนิดหน่อย เพราะว่ามีทั้งการส่งงาน ตรวจสอบงานของตัวเอง ลงชื่อบล็อก เเละสุดท้ายอาจารย์ได้สอนนักศึกษาหลายเเง่คิด เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในประจำวัน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่14

8 กุมภาพันธ์ 2554

อาจารย์ให้ทำเเบบทดสอบ เรื่อง การจัดสภาพเเวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายกับเด็ก ดังหัวข้อต่อไปนี้


  • การจัดสภาพเเวดล้อมในห้องเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
  • มุมที่ดีควรลักษณะอย่างไร
  • มุมบ้าน
  • มุมหมอ
  • มุมร้านค้า
  • มุมจราจร
ข้อคิดสำหรับการเรียนภาษาในวันนี้...
  • เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อม หรือความสนใจ
  • สอนเเบบเป็นธรรมชาติ
  • สอนอย่างมีความหมาย
  • สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
  • สอนให้เด็กรู้สึกสนุก เเละอยากเรียน
  • ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน
เทคนิคที่ไม่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา
  1. เน้นความจำ
  2. เน้นการฝึก
  3. ใช้กาทดสอบ
  4. การตีตราเด็ก
  5. ไม่ยอมรับความผิดพลาด
  6. สอนภาษาเฉพาะเวลาที่กำหนด
  7. ทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ
เทคนิคที่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา
  1. สอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติ
  2. สอนสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
  3. บูรณาการเข้ากับสาขาอื่น
  4. ใช้ความคิดเห็นเเละถ้อยคำของเด็ก
  5. ยอมรับความคาดเดาของเด็ก
  6. ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจ สนุกสนาน

อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย เเล้วให้วิเคราะห์ว่าฟังเเล้วรู้สึกอย่างไร เเละในเนื้อเพลงต้องการบอกอะไร

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13

1 กุมภาพันธ์ 2554

ความรู้ที่ได้...
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ การอ่านตามลำฟัง การอ่านเป็นคู่ การอ่านเป็นกลุ่มย่อย โดยเฉพาะการอ่านระหว่างครูกับเด็ก การเขียนร่วมกัน

ลักษณะสำคัญของภาษาเเบบองค์รวม

1. อ่าน - เขียน

  • เน้นความเข้าใจเนื้อหามากกว่าการท่องจำหนังสือผ่านการเล่านิทาน หรือ สนทนา
  • การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน เเละการสะกด โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน หรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
  • มีหนังสือ วัสดุพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก
  • ครูเเนะนำเเละสอนการอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่
  • ให้เด็กเเบ่งเป็นกลุ่มเล็ก เเละผลัดกันอ่านออกเสียง
  • ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย มีวิธีการใช้หนังสือ หรือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้คุย ซักถามประสบการณ์เดิมจากครู
  • ให้เด็กได้อ่าน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนจากประสบการณ์เดิม
2. พูด - เขียน
  • เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับคำ เเละเพิ่มพูนในด้านการพูด
  • การพูดคุยกับพ่อเเม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์ต่างๆต้องมีความสำคัญกับเด็ก
  • ส่งเสริมพัฒนาการ คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
  • เด็กจะมองตามตัวหนังสือ จะหาความหมายจากภาพ
3. ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
  • ขั้นเเรก : คำเเรกที่เด็กอ่านออกมาเป็นคำ มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น คน สัตว์ สิ่งของ
  • ขั้นสอง : ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก เเละเรียนรู้ที่อยู่ตำเเหน่งของตัวอักษร
  • ขั้นสาม : เด็กเเยกเเยะการใช้ตัวอักษร เเละจัดระเบียบเเบบเเผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา เด็กเริ่มรู้จักรูปร่างเเละระบบของตัวอักษรมากขึ้น
  • ขั้นสุดท้าย : ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
4. การรับรู้เเละพัฒนาการด้านภาษาของเด็กก่อนวันเรียน
  • ระยะเเรก : เด็กเริ่มเเยกเเยะความเเตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ ที่ใช้เเทนอักษรเเละที่ไม่ใช่อักษร เด็กจะใช้ลัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นเเทนอักษร โดยเเต่ละอักษรมีลักษณะที่เเตกต่างกัน
  • ระยะที่สอง : การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดเเต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มเเสดงความเเตกต่างของข้อความเเต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เด็กเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนคำเเละความหมาย
  • ระยะที่สาม : เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียง
5. การจัดสภาพเเวดล้อม
  • การจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระเเละกิจกรรม โดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนให้มีความตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ของเด็ก
  • สร้างประสบการณ์เเละความพร้อมในการเรียนของเเต่ละบุคคล หรือเเต่ละกลุ่มตามความสนใจ
  • สภาพเเวดล้อมในห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน
6. กระบวนการเรียนรู้เเบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
  • ครูจะต้องมีความเชื่อมั่นเเละไว้วางใจในตัวเด็กว่าสามารถทำงานต่างๆได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเด็กมีความสนใจ ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่12

25 มกราคม 2554

วันนี้อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปเเล้วเกี่ยวกับ ภาษาธรรมชาติ รวมทั้งได้สอนเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ได้เเก่
  1. บรรยากาศการเรียนรู้ ความร่วมมือกันระหว่างครูเเละนักเรียน คือ มีความคิดร่วมกัน ว่าต้องการทำอะไร ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง เเบ่งหน้าที่กันให้เรียบร้อย คอยช่วยเหลือซึ่งกันเเฃะกัน
  2. การฟังเเละการพูดของเด็ก การพูดเป็นประโยคยาวๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็ว
  3. การอ่านเเละการเขียน การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่าน สิ่งที่ประกอบขึ้นทั้งหมด คือ องค์ความรู้ ที่เป็นเนื้อหานำเสนอผ่านไวยกรณ์ของภาษา

เพลง สวัสดี


สวัสดี สวัสดี สวัสดี ยินดีที่ได้พบกัน
เธอเเละฉัน พบกันสวัสดี






เพลง อย่าทิ้ง

อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งเเล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ





เพลง ตาเเละหู

ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
เวลาครูสอน ครูสั่ง ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู (ซ้ำ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554


พัฒนาการทางภาษาของเด็ก 7 ขั้น มีดังนี้
1.ระยะเปะแปะ
- อายุตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน
- พบว่าเด็กเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
- เมื่อมีอายุ 6 เดือน เสียงของเด็กเริ่มชัดเจน เรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า "เสียงอ้อแอ้"
2.ระยะแยกแยะ
- อายุ 6 เดือน - 1 ปี 
- พบว่า เด็กเริ่มจะแยกแยะเสียง ที่เขาได้ยินในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงพูดคุยของแม่หรือผู้เลี้ยงดู
3.ระยะเลียนแบบ
- อายุ 1-2 ปี 
- เสียงของคนใกล้ชิด เป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจ และเริ่มเลียนแบบเสียงที่เปล่งขึ้น
- เริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินของผู้อื่น
4.ระยะขยาย
- อายุ 2-4 ปี
- เด็กจะเริ่มพูดโดยเปล่งเสียงออกเป็นคำๆ
การพูดของเด็กอายุ 2-4 ปี มีดังนี้
- อายุ 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำและสามารถใช้คำที่เป็นคำนามได้ร้อยละ 20
- อายุ 3 ปี เด็กเริ่มพูดเป็นประโยคได้
- อายุ 4 ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่างๆได้กว้างมากขึ้น สามารถใช้คำขึ้นต้นหรือคำลงท้ายอย่างที่ได้ยินผู้ใหญ่ใช้
5. ระยะโครงสร้าง
- อายุ 4-5 ปี
- การรับรู้และการสังเกตของวัยนี้ดีมากขึ้น
- เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่น การฟังนิทาน การเล่นกับเพื่อน
6.ระยะตอบสนอง
- อายุ 5-6 ปี
- พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้เริ่มสูงขึ้น
7.ระยะสร้างสรรค์
- อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
- สามารถจดจำสัญญาลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด
- เด็กจะพัฒนาการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้สูงขึ้น
- ใช้ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
- การสื่อสารจะเป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของเด็ก
การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
โคมินิอุส กล่าวว่า
- เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอ ด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิต เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรม
จูดิท นิวแมน กล่าวว่า
- การสอนภาษาโดยใช้แนวคิดปรัชญา
จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า
- การเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ตรง