วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554


พัฒนาการทางภาษาของเด็ก 7 ขั้น มีดังนี้
1.ระยะเปะแปะ
- อายุตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน
- พบว่าเด็กเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
- เมื่อมีอายุ 6 เดือน เสียงของเด็กเริ่มชัดเจน เรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า "เสียงอ้อแอ้"
2.ระยะแยกแยะ
- อายุ 6 เดือน - 1 ปี 
- พบว่า เด็กเริ่มจะแยกแยะเสียง ที่เขาได้ยินในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงพูดคุยของแม่หรือผู้เลี้ยงดู
3.ระยะเลียนแบบ
- อายุ 1-2 ปี 
- เสียงของคนใกล้ชิด เป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจ และเริ่มเลียนแบบเสียงที่เปล่งขึ้น
- เริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินของผู้อื่น
4.ระยะขยาย
- อายุ 2-4 ปี
- เด็กจะเริ่มพูดโดยเปล่งเสียงออกเป็นคำๆ
การพูดของเด็กอายุ 2-4 ปี มีดังนี้
- อายุ 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำและสามารถใช้คำที่เป็นคำนามได้ร้อยละ 20
- อายุ 3 ปี เด็กเริ่มพูดเป็นประโยคได้
- อายุ 4 ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่างๆได้กว้างมากขึ้น สามารถใช้คำขึ้นต้นหรือคำลงท้ายอย่างที่ได้ยินผู้ใหญ่ใช้
5. ระยะโครงสร้าง
- อายุ 4-5 ปี
- การรับรู้และการสังเกตของวัยนี้ดีมากขึ้น
- เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่น การฟังนิทาน การเล่นกับเพื่อน
6.ระยะตอบสนอง
- อายุ 5-6 ปี
- พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้เริ่มสูงขึ้น
7.ระยะสร้างสรรค์
- อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
- สามารถจดจำสัญญาลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด
- เด็กจะพัฒนาการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้สูงขึ้น
- ใช้ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
- การสื่อสารจะเป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของเด็ก
การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
โคมินิอุส กล่าวว่า
- เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอ ด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิต เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรม
จูดิท นิวแมน กล่าวว่า
- การสอนภาษาโดยใช้แนวคิดปรัชญา
จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า
- การเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น