วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13

1 กุมภาพันธ์ 2554

ความรู้ที่ได้...
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ การอ่านตามลำฟัง การอ่านเป็นคู่ การอ่านเป็นกลุ่มย่อย โดยเฉพาะการอ่านระหว่างครูกับเด็ก การเขียนร่วมกัน

ลักษณะสำคัญของภาษาเเบบองค์รวม

1. อ่าน - เขียน

  • เน้นความเข้าใจเนื้อหามากกว่าการท่องจำหนังสือผ่านการเล่านิทาน หรือ สนทนา
  • การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน เเละการสะกด โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน หรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
  • มีหนังสือ วัสดุพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก
  • ครูเเนะนำเเละสอนการอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่
  • ให้เด็กเเบ่งเป็นกลุ่มเล็ก เเละผลัดกันอ่านออกเสียง
  • ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย มีวิธีการใช้หนังสือ หรือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้คุย ซักถามประสบการณ์เดิมจากครู
  • ให้เด็กได้อ่าน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนจากประสบการณ์เดิม
2. พูด - เขียน
  • เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับคำ เเละเพิ่มพูนในด้านการพูด
  • การพูดคุยกับพ่อเเม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์ต่างๆต้องมีความสำคัญกับเด็ก
  • ส่งเสริมพัฒนาการ คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
  • เด็กจะมองตามตัวหนังสือ จะหาความหมายจากภาพ
3. ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
  • ขั้นเเรก : คำเเรกที่เด็กอ่านออกมาเป็นคำ มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น คน สัตว์ สิ่งของ
  • ขั้นสอง : ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก เเละเรียนรู้ที่อยู่ตำเเหน่งของตัวอักษร
  • ขั้นสาม : เด็กเเยกเเยะการใช้ตัวอักษร เเละจัดระเบียบเเบบเเผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา เด็กเริ่มรู้จักรูปร่างเเละระบบของตัวอักษรมากขึ้น
  • ขั้นสุดท้าย : ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
4. การรับรู้เเละพัฒนาการด้านภาษาของเด็กก่อนวันเรียน
  • ระยะเเรก : เด็กเริ่มเเยกเเยะความเเตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ ที่ใช้เเทนอักษรเเละที่ไม่ใช่อักษร เด็กจะใช้ลัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นเเทนอักษร โดยเเต่ละอักษรมีลักษณะที่เเตกต่างกัน
  • ระยะที่สอง : การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดเเต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มเเสดงความเเตกต่างของข้อความเเต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เด็กเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนคำเเละความหมาย
  • ระยะที่สาม : เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียง
5. การจัดสภาพเเวดล้อม
  • การจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระเเละกิจกรรม โดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนให้มีความตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ของเด็ก
  • สร้างประสบการณ์เเละความพร้อมในการเรียนของเเต่ละบุคคล หรือเเต่ละกลุ่มตามความสนใจ
  • สภาพเเวดล้อมในห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน
6. กระบวนการเรียนรู้เเบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
  • ครูจะต้องมีความเชื่อมั่นเเละไว้วางใจในตัวเด็กว่าสามารถทำงานต่างๆได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเด็กมีความสนใจ ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น